4Leaf : Music Lover
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

แนวดนตรีในโลกปัจจุบัน

Go down

แนวดนตรีในโลกปัจจุบัน Empty แนวดนตรีในโลกปัจจุบัน

เธ•เธฑเน‰เธ‡เธซเธฑเธงเธ‚เน‰เธญ by jackies Fri Jun 08, 2007 11:31 am

อืมมม ตอนนี้แนวดนตรีมีเยอะมากๆครับ ผมจะทยอยเอามาลงให้อ่านกันนะ

อันนี้ไม่ได้เขียนหรือนิยามเองนะครับ ไปหาตามที่ต่างๆมาลงให้นะ ผมคงนิยามเองไม่ได้หรอก

เอาแนวเพลงที่นิยมมาให้อ่านก่อนนะครับ

กอสเปล (Gospel music) คือแนวเพลงทีเน้นเสียงร้องเป็นหลัก กอสเปลจะมีลักษณะการร้องประสานเสียง การร้องเฉลิมฉลอง และใส่ความเชื่อทางศาสนาในเนื้อร้อง โดยกอสเปลได้ซึมเข้าไปดนตรีหลายๆประเภทอย่าง ดู-ว็อบ ,คันทรี-กอสเปล,contemporary gospel, urban contemporary gospel,Modern Gospel music

กอสเปลเชื่อว่ามีที่มาจากโบสถ์ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ตอนต้นศตวรรษที่ 20 นักร้องชื่อดังแนวกอสเปล Sister Rosetta Tharpe มีเพลงขึ้นในชาร์ทในปี 1938 ทุกวันนี้กอสเปลได้แตกแยกย่อยเป็นหลายๆแนว ปลายยุค 70 Contemporary Christian Music คือเพลงซอฟท์ร็อกประเภทนึงได้เข้าสู่ดนตรีกระแสหลัก จนมาถึงยุค 80 และ 90 เพลง Contemporary Christian Music ก็ยังอยู่ได้รับความนิยมเพียงแต่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา

แนวเพลงย่อยของกอสเปล
urban contemporary gospel
Christian country music
Southern Gospel
Progressive Southern Gospel

เพลงป็อปที่มีการร้องประสานเสียงแบบกอสเปล
"Tender" โดย เบลอ
"Under the Bridge" โดย เรด ฮ็อท ชิลี เป็ปเปอร์ส
"All These Things That I've Done" โดย เดอะ คิลเล่อร์ส
"Cry Me A River" โดย จัสติน ทิมเบอร์เลค
"I Want to Know What Love Is" โดย ฟอเรนจ์เนอร์
"Will You Be There" โดย ไมเคิล แจ็คสัน
"Purple Rain" โดย พรินส์
"Like a Prayer" โดย มาดอนน่า
"Somebody to Love" โดย ควีน
"River of Dreams" โดย บิลลี โจเอล

แจ๊ส (Jazz) เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิคชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริกา

ดนตรีแจ๊สมีต้นกำเนิดราวทศวรรษ 1920 โดยวงดนดรีวงแรกที่นำสำเนียงแจ๊สมาสู่ผู้ฟังหมู่มากคือ ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ส แบนด์ (The Original Dixieland Jazz Band: ODJB) ด้วยจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ ทำให้โอดีเจบีเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก พร้อมกับให้กำเนิดคำว่า "แจ๊ส" ตามชื่อวงดนตรี โอดีเจบีสามารถขายแผ่นได้ถึงล้านแผ่น

รากลึกของแจ๊สนั้นมีมาจากเพลงบลูส์ (Blues)คนผิวดำที่เล่นเพลงบลูส์เหล่านี้เรียนรู้ดนตรีจากการฟังเป็นพื้นฐาน จึงเล่นดนตรีแบบถูกบ้างผิดบ้าง เพราะจำมาไม่ครบถ้วน มีการขยายความด้วยความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งกลายเป็นที่มาของคีตปฏิภาณ (Improvisation)

ในภายหลังดนตรีแร็กไทม์ (Ragtime) ก็เชื่อว่ามีต้นกำเนิดคล้ายๆ กันคือ เกิดจากดนตรียุโรปผสมกับจังหวะขัดของแอฟริกัน บลูส์และแร็กไทม์นี่เองที่เป็นรากของดนตรีแจ๊สในเวลาต่อมา

เพลงบลูส์เริ่มได้รับความนิยมในช่วงเวลาเดียวกันกับแร็กไทม์ ปลายๆ ทศวรรษ 1910 เพลงบลูส์และแร็กไทม์ถูกผสมผสานจนกลมกลืนโดย บัดดี โบลเดน (Charles Joseph 'Buddy' Bolden) เป็นผู้ริเริ่ม หากแต่เวลานั้นยังไม่มีการประดิษฐ์คำว่าแจ๊สขึ้นมา และเรียกดนตรีเหล่านี้รวมๆ กันว่า "ฮ็อต มิวสิก" (Hot Music) จนกระทั่งโอดีเจบีโด่งดัง คำว่า แจ๊ส จึงเป็นคำที่ใช้เรียกขานกันทั่ว แจ๊สในยุคแรกนี้เรียกกันว่าเป็น แจ๊สดั้งเดิม หรือ นิวออร์ลีนส์แจ๊ส

ทศวรรษที่ 1920 และ 1930
บิลลี ฮอลิเดย์สหรัฐเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทางการสั่งปิดสถานเริงรมณ์ในนิวออร์ลีนส์ ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่เดินทางมาหากินในชิคาโก นิวยอร์ก และ ลอสแองเจลลิส ทั้งสามเมืองจึงกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะนักดนตรีแจ๊สในช่วงนั้ ชิคาโกดูจะเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางดนตรีแจ็สเหนือกว่าอีกสองเมือง เพราะมีนักดนตรีมาทำงานมาก ชิคาโกเป็นเมืองที่ทำให้ หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong) เป็นที่รู้จัก และกลายเป็นนักดนตรี นักร้องแจ๊สชื่อก้องโลกในเวลาต่อมา ในด้านการพัฒนา ชิคาโกมีดนตรีแจ๊สที่สืบสายมาจากนิวออร์ลีนส์แต่มีลักษณะเฉพาะตัว มีการทดลองจัดวงในแบบของตัวเอง เริ่มเอาเครื่องดนตรีใหม่ๆ เช่น แซ็กโซโฟนมาใช้รวมกับ คอร์เน็ต ทรัมเป็ต มีการทดลองแนวดนตรีใหม่ๆ เช่น การเล่นเปียโนแบบสไตรด์ (Stride piano) ของเจมส์ จอห์นสัน (James P. Johnson) ซึ่งมีพื้นฐานจากแร็กไทม์ การทดลองลากโน้ตให้ยาวจนผู้ฟังคาดเดาได้ยากของอาร์มสตรอง และการปรับแพทเทิร์นของจังหวะกันใหม่เป็น Chicago Shuffle

ส่วนนิวยอร์กรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของแจ๊สในยุคปลายทศวรรษ 1920 แทนชิคาโก ดนตรีแจ๊สในนิวยอร์กพัฒนาเพื่อเป็นดนตรีเต้นรำให้ความสนุกสนานบันเทิง และเป็นที่มาของ สวิง (Swing) และ บิ๊กแบนด์ (Big Band)

สวิงเป็นดนตรีที่ก่อให้เกิดการจัดวงแบบใหม่ที่เรียกว่า "บิ๊กแบนด์" ซึ่งมีการแบ่งโครงสร้างเครื่องดนตรีเป็นสามส่วนคือ เครื่องทองเหลือง เครื่องลมไม้ และเครื่องให้จังหวะ ศิลปินที่แจ้งเกิดในยุคนี้เช่น เอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ (Ella Fitzgerald) บิลลี ฮอลิเดย์ (Billy Holiday) และหลุยส์ อาร์มสตรอง จุดเด่นของนักร้องแจ๊สคือการ "สแกต" (Scat) หรือเปล่งเสียง ฮัมเพลง แทนเครื่องดนตรี ซึ่งนับเป็นการแสดงคีตปฏิภาณของนักร้อง

ทศวรรษที่ 1940
เพลงสวิงมาถึงจุดอิ่มตัวเมื่อนักดนตรีเริ่มเบื่อหน่ายการจัดวงและการเรียบเรียงที่ค่อนข้างตายตัว จึงเริ่มเกิดการหาแนวทางใหม่ๆ เล่นตามความพอใจหลังการซ้อมหรือเล่นดนตรี หรือเรียกว่า "แจม" (Jam session) ชาร์ลี "เบิร์ด" พาร์คเกอร์ (Charlie "Bird" Parker) นักแซ็กโซโฟน และ ดิซซี่ กิลเลสปี (Dizzy Gillespie) นักทรัมเป็ต เสนอแจ๊สในแนวทางใหม่ขึ้นมา เมื่อทั้งสองร่วมตั้งวงห้าชิ้นและออกอัลบั้มตามแนวทางดังกล่าว คำว่า "บีบ็อพ" (Bebop) "รีบ็อพ" (Rebop) หรือ "บ็อพ" (Bop) ก็กลายเป็นคำติดปาก คำว่าบีบ็อพเชื่อกันว่ามาจากสแกตของโน้ตสองตัว บ็อพมีสุ้มเสียง จังหวะ การสอดประสานที่ต่างไปจากสวิงค่อนข้างมาก เช่นจังหวะไม่ได้บังคับเป็น 4/4 เหมือนสวิง ใช้คอร์ดแทน (Alternate chords) ในขณะที่โซโลและการแสดงคีตปฏิภาณยังคงวางบนคอร์ดเดิม

ทศวรรษที่ 1950
ไมล์ส เดวิส และ จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ก็มาลงตัวกับท่วงทำนองที่ใช้ฮาร์โมนีของโหมด (Mode) มากกว่า คอร์ด กลายมาเป็น โมดัลแจ๊ส(Modal Jazz) ในเวลาต่อมา โดยมีอัลบั้ม Kind of Blues ของเดวิส เป็นตัวแทนของการเริ่มต้น การใช้โหมดทำให้นักดนตรีสามารถโซโล หรือแสดงคีตปฏิภาณได้อิสระยิ่งขึ้น เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องคอร์ดเหมือนที่ผ่านมา จึงเกิดสเกลแปลกใหม่มากมาย

หลังอัลบั้ม Kind of Blue ในปี 1959 ไม่นานนัก ออร์เน็ต โคลแมน (Ornette Coleman) นักแซ็กโซโฟนก็เสนออีกแนวทางหนึ่งที่ให้อิสระยิ่งกว่าโมดัลแจ๊ส คือดนตรีสายฟรีแจ๊ส (Free Jazz) ซึ่งเน้นปฏิสัมพันธ์เป็นแกน อาศัยความรู้สึกและคีตปฏิภาณอย่างหนักหน่วง จนแทบไม่เหลืออะไรเป็นศูนย์กลายของเพลง หลายๆ เพลงไม่มีแม้แต่จังหวะทำนอง ไม่มีห้องดนตรี ดนตรีในแนวฟรีแจ๊สและที่ใกล้เคียงกันในเวลานั้นทั้งหมดเรียกรวมว่า "อวองต์ การ์ด" (Avante Garde) นอกจาก โคลแมนแล้ว ผู้ที่มีชื่อเสียงในฟรีแจ๊ส เช่น อัลเบิร์ต ไอย์เลอร์ (Albert Ayler) ซึ่งเป็นผู้ชักนำให้ โคลเทรนหันมาสนใจฟรีแจ๊สในระยะหลังๆ

ทศวรรษที่ 1970
หลังกำเนิดฟรีแจ๊ส ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ได้เกิดดนตรีแจ๊สอีกแนวที่เรียกว่า ฟิวชัน (Fusion) ซึ่งบ่งชี้ถึงการนำดนตรีสองแนวหรือมากกว่ามาหลอมรวมกัน แต่โดยบริบทในช่วงนั้นจะหมายถึงการรวมดนตรีแจ๊สเข้ากับร็อกเป็นหลัก เพราะช่วงเวลานั้นร็อกแอนด์โรลมีอิทธิพลในกลุ่มวัยรุ่นอย่างมาก ไมล์ส เดวิส นักปฏิวัติดนตรีแจ๊ส ก็ได้หยิบเอาโครงสร้างของร็อกมารวมกับแจ๊ส ทดลองใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า เครื่องดนตรีประเภทสังเคราะห์เสียง โดยเริ่มจากอัลบั้ม In A Silent Way ก่อนจะมาเป็นอัลบั้ม Bitches Brew ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวฟิวชันในเวลาต่อมา

แจ๊สยุคใหม่
จามิโรไคว์ ศิลปินแอซิดแจ๊สยุคหลังทศวรรษ 1970 ฟิวชันไม่ได้ครอบคลุมเพียงแจ๊ส-ร็อก หากรวมถึงดนตรียุคหลัง เช่น แจ๊ส-รึทึมแอนด์บลูส์ แจ๊ส-ฟังกี้ แจ๊ส-ป๊อป เป็นต้น ฟิวชันยุคหลังนี้มีอิทธิพลกับแนวดนตรีนิวเอจ (New Age) และ เวิลด์ มิวสิก (World Music) ในเวลาต่อมาโดยมีสังกัด ECM และ วินด์แฮม ฮิล (Windham Hill) นักดนตรีฟิวชันที่โด่งดังมีหลายคน เช่น คีธ จาร์เร็ต (Keith Jarrett) แพท เมธินี (Pat Metheny) บิลล์ ฟริเซล (Bill Frisell) โตชิโกะ อะกิโยชิ (Toshiko Akiyoshi) ซาดาโอะ วาตานะเบ (Sadao Watanabe) เป็นต้น

มีความพยายามหาสุ้มเสียงใหม่ๆ จากฟิวชันเหมือนกัน เช่น แอซิดแจ๊ส (Acid Jazz) หรือกรูฟแจ๊ส (Groove Jazz)ซึ่งเป็นผลการผสมระหว่างแจ๊ส โซล ฟังกี้ และฮิปฮอป เช่น จามิโรไคว์ (Jamiroquai) อีกแนวที่ใกล้กับแอซิดแจ๊สคือ นูแจ๊ส (Nu Jazz) หรือ อิเล็กโทรแจ๊ส (Electro-Jazz) ซึ่งเกิดในปลายทศวรรษ 1990 โดยนำเนื้อหนังของแจ๊สมาผสมผสานด้วยดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสังเคราะห์เสียง เช่น วงอิเล็กโทรนิกา (Electronica)

ดนตรีเอกซ์ตรีม (extreme music) เป็นลักษณะของดนตรีกลุ่มหนึ่งที่มี"ความสุดขั้ว" แบ่งย่อยออกเป็น เมทัล ฮาร์ดคอร์ และประเภทอื่นๆ

ลักษณะหลักๆทั่วไปของดนตรีเอกซ์ตรีมนั้นก็ตรงตัวคำแปลภาษาอังกฤษของมันก็คือมันมี "ความสุดขั้ว" อันทำให้มันเป็นสิ่งที่ผู้ฟังทั่วๆ ไปยากที่จะรับฟังได้ ในหลายๆ กรณีแล้วมันก็ถึงกับเป็นที่ถกเถียงกันเลยว่าสิ่งเหล่ายังเป็นดนตรีอยู่หรือเปล่า ซึ่งข้อถกเถียงนี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับกลุ่มทางดนตรีที่เรียกกันอย่างหลวมๆว่าดนตรีทดลอง เช่นเดียวกัน

ความสุดขั้วของดนตรีเอกซ์ตรีมนั้นสามารถเป็นความสุดขั้วได้หลากหลายทาง เช่น ความเร็วของเพลงที่เร็วจนผิดไปจากเพลง "ทั่วๆไป" (เช่น สปีด/แทรชเมทัล เดธเมทัล ไกรนด์คอร์)หรือ ช้าและหนืดว่าเพลง "ทั่วไป" เช่น พวก สลัดจ์คอร์ หรือพวกดูมแบบสุดขั้วอย่างพวกโดรนดูม เป็นต้น หรือ จะเป็นการมีเสียงรบกวนปะปนอยู่มากในเพลง เช่น นอยส์คอร์ การมีเนื้อหาที่อุจาด รุนแรง ดูไม่มีเหตุผล (non-sense) ซึ่งมักจะไปด้วยกันกับเสียงร้องที่เป็นที่เรียกกันอย่างทั่วไปว่า "สำรอก" หรือ "แผด" อันมีรายละเอียดปลีกย่อยไปตามแต่ละแนวดนตรี (เช่นโดยทั่วไปแล้วลักษณะการออกเสียงของดนตรีเดธเมทัล แบล็คเมทัล และ ฮาร์ดคอร์ นั้นแม้จะดูฟังไม่รู้เรื่องและไม่ค่อยมีท่วงทำนอง (Melody)เหมือนๆกันสำหรับคนทั่วๆไป แต่ทั้งสามแนวทางการร้องนั้นก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนที่แยกแยะได้สำหรับผูฟังดนตรีเอกซ์ตรีโดยทั่วๆไป) นอกจากนี้แล้วดนตรีเอกตรีมนั้นยังมีการใช้ตัวโน้ตในสเกลแปลกๆ ที่อาจฟังดูขัดหูเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ฟังเพลงทั่วไปที่จะคุ้นเคยกับสเกลฟื้นๆ อย่าง เมเจอร์ หรือ ไมเนอร์ มีการใช้ไทม์ซิกเนเจอร์แปลกๆ เช่น 7/8/ 5/4 เป็นต้น (ดนตรีทั่วไปแทบจะร้อยทั้งร้อยจะประกอบด้วยไทม์ซิกเนเจอร์ 4/4) ซึ่งถึงกับมีรายงานว่าวงดนตรีบางวงถึงกับทำการทอยลูกเต๋าเพื่อเลือกไทม์ซิกเจอร์กันเลยทีเดียว เช่น การณีของวง เดอะ ดิลลิงเจอร์ เอสเคป แพลน (The Dillinger Escape Plan) และ สุดท้ายก็คือโครงสร้างอันแปลกประหลาดของเพลง (ถ้าเทียบกับเพลงป็อปร็อคทั่วๆไป) และ ความยาวที่ไม่ปกติของเพลง เช่น การที่เพลงเดียวยาว 30 นาที หรือ การมีเพลงกว่า 50 เพลงในอัลบั้ม หรือ อีพี ที่ยาวไปถึงยี่สิบนาที เป็นต้น

เราต้องไม่ลืมว่าดนตรีเอกซ์ตรีมนั้นโดยพื้นฐานแล้วเป็นดนตรีที่ปฏิเสธดนตรีกระแสหลัก (Main Stream) ของผู้ฟังทั่วๆไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของดนตรีกระแสหลัก นั้นจึงนำไปสูการเปลี่ยนแปลงของดนตรีเอกซ์ตรีมด้วย นี่แสดงให้เห็นว่าดนตรีเอกซ์ตรีมนั้นไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบที่ตายตัว ในช่วงเวลาที่ต่างกันดนตรีเอกซ์ตรีมนั้นก็อาจต่างกันใด้ ความเข้าใจดังกล่าวจะไม่ทำให้เราสับสนกับสิ่งที่เคยเป็นดนตรีเอกตรีมและ สิ่งที่เป็นอยู่ เช่น ในช่วงราวต้นถึงกลางทศวรรษที่ 1980 นั้นเราอาจกล่าวได้ว่า สปีด/แทรชเมทัลนั้นเป็นเอกซ์ตรีมมิวสิค แต่ในช่วงกลางยุค 1990 ที่แทบจะไม่มีใครเล่นแทรชเมทัลกันอย่างเมื่อก่อน ซึ่ง เดธและแบล็คเมทัล (ซึ่งเป็นลูกหลานทางดนตรีที่หนักกว่าสปีด/แทรชเมทัล)โตเต็มที่แล้ว เราก็อาจกล่าวได้ว่าดนตรีแทรชเมทัลนั้นไม่ใช่ดนตรีเอกซ์ตรีมอีกต่อไป แต่ดนตรีเดธเละแบล็คเมทัลต่างหากที่เป็นดนตรีเอกซ์ตรีมในปัจจุบันเป็นต้น

อย่างไรก็ดีก็เช่นเดียวกับการจัดประเภทดนตรีชนิดอื่นๆ ซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวอะไร และ ไม่มีความเห็นอย่างเป็นเอกฉันท์ทั้งในหมู่นักวิจารณ์และ ผู้ฟังทั่วๆไป การบอกว่าอะไรเป็นเอกซ์ตรีมมิวสิคหรือไม่เป็นนั้นก็เป็นสิ่งที่โต้แย้งได้เสมอ ดังนันความเห็นที่เป็นกลางที่สุดก็คงต้องเป็นการรายงานปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปมา แม้ว่ามันจะไม่มีตรรกะที่ใช้ได้กับทุกกรณีสำหรับการจัดว่าอะไรเป็นเอกซ์ตรีมเมทัลและอะไรไม่เป็น โปรดดูปัญหาในการจัดประเภทดนตรีได้อย่างชัดเจนที่สุดต่อเมื่อมีดนตรีประเภทใหม่ๆ อุบัติขึ้น เช่นใน Discussion Page ของ Wikipedia ในหน้าของ Metalcore และ N.W.O.A.H.M เป็นต้น

ดนตรีเอกซ์ตรีม ที่มึอยู่ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะจำกัดตัวอยู่ในวงการเฮฟวี่เมทัลเป็นหลัก

ดิสโก้ (Disco) เป็นแนวเพลงประเภทหนึ่ง สาขาย่อยของดนตรีแด๊นส์ (เต้นรำ) ที่ผสมผสานแนวฟังค์กับโซลเข้าด้วยกัน ดิสโก้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วยยุค 1970s ตอนกลางถึงปลาย

ศิลปินแนวดิสโก้ที่ได้รับความนิยมในยุคนั้นเช่น ดอนน่า ซัมเมอร์,เดอะ แจ็กสันไฟฟ์,แบร์รี่ ไวท์,บีจีส์ และ แอบบ้า เป็นต้น ดิสโก้ได้ลดความนิยมไปในช่วง 1980s

ในปี 1969 เพลงแรกที่ถูกเอ่ยถึงคือเพลง "Only the Strong Survive" ของ Jerry Butler เำพลงนี้มีหลายส่วนใช้องค์ประกอบของดิสโก้โดยเพลงนี้ได้รวมแนว Philly และ New York soul เป็นที่มาคนดนตรีแบบโมทาวน์ด้วย แต่คำว่าดิสโก้ถูกทำให้รู้จักขึ้นโดยบทความของ Vince Aletti ฉบับวันที่ 13 กันยายน 1973 ในนิตยสาร The Rolling Stone

ในปี 1974 เริ่มมีเพลงดิสโก้ขึ้นชาร์ทอันดับ 1 เช่นเพลง "Rock The Boat," ของ Hues Corporation , "Love's Theme" โดย Love Unlimited Orchestra (วงของแบร์รี ไวท์) หลังจากนั้นได้มีเพลงฮิตบนชาร์ทอยู่หลายเพลง เช่น Van McCoy เพลง "The Hustle" และ Donna Summer เพลง "Love to Love You, Baby", Silver Convention เพลง "Fly Robin Fly" (1975), และ The Bee Gees เพลง"Jive Talkin'" (1975) เพลงดิสโก้เริ่มได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงปี 1976-1979 มีภาพยนตร์ดังหลายเรื่องที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับดิสโก้เช่น Saturday Night Fever และ Thank God It's Friday

เพลงดิสโก้ในระดับต้นๆ

(Shake, Shake, Shake) Shake Your Booty -KC & the Sunshine Band
Boogie Wonderland - Earth, Wind & Fire
Car Wash - Rose Royce
Disco Inferno - The Trammps
Don't Leave Me This Way - Thelma Houston
Funkytown - Lipps, Inc.
Good Times - Chic
Hot Stuff - Donna Summer
I Will Survive - Gloria Gaynor
Le Freak - Chic

แด๊นซ์ (Electronic dance music)ในที่นี้หมายถึงดนตรีเต้นรำประเภทอีเลคโทรนิก ได้รับการสืบทอดมาจากดนตรีประเภทดิสโก้ในยุค 70 ดนตรีประเภทนี้มีต้นกำเนิดมาจากไนท์คลับในยุค 80 มีการใช้เครื่องดนตรีอีเลคโทรนิกอย่าง เครื่องสังเคราะห์เสียง,ดรัม แมชชีน,sequencer

เพลงแด๊นซ์ส่วนใหญ่ถูกแต่งขึ้นมาโดยคอมพิวเตอร์ และเครื่องสังเคราะห์เสียง ไม่ค่อยนิยมเครื่องดนตรีจริง โดยจะอยู่ในรูปแบบของ digital/electronic sound บีท 4/4 ช่วงระหว่าง 120bpm ไปจนถึง 200bpm เพลงประเภทเทคโน ,แทรนซ์ และเฮาส์ ได้รับความนิยมมาก

ดนตรีแด๊นซ์ มีหมวดหมู่ย่อยอยู่หลายประเภทเช่น เทคโน,เฮาส์,แทรนซ์,อีเลคโทร,เบรกบีท,ดรัมแอนด์เบส,อิตาโล ดิสโก้ และ ยูโรบีท เป็นต้น

สตีฟ ฮิลเลจ และ มิเควทท์ กิเรอดี ได้แยกแยะดนตรีประเภทอีเลคโทรนิกแด๊นซ์ ด้วย บีทส์เพอร์มินิท (bpm)[1] ดังนี้

60–90 bpm — ฮิปฮอปและดับ
90–120 bpm — ฮิปฮอปที่เร็วขึ้น และ บิ๊ก บีท/ทริป ฮอป
120–135 bpm — เฮาส์
135–155 bpm — เทคโน
155–180 bpm — ดรัมแอนด์เบส /จังเกิล
180 + bpm — hardcore gabber


เซ็งๆ แปะหมดไม่ได้วุ้ย
jackies
jackies
Administrator
Administrator

Male
เธˆเธณเธ™เธงเธ™เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก : 53
อายุ : 41
ที่อยู่ : Illusion's World
Registration date : 04/06/2007

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™ Go down

แนวดนตรีในโลกปัจจุบัน Empty แนวดนตรี ต่อๆ

เธ•เธฑเน‰เธ‡เธซเธฑเธงเธ‚เน‰เธญ by jackies Fri Jun 08, 2007 11:34 am

บริทป็อป (Britpop) คือ บริติช อัลเทอร์เนทีฟร็อก ซึ่งเป็นการเคลือนไหวทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของอังกฤษช่วงกลางยุค 1990s ลักษณะของศิลปิน ส่วนมากจะได้รับอิทธิพลมาจาก ศิลปินดนตรีอังกฤษในช่วง ทศวรรษ 60s-70s ศิลปินเด่น ๆ ของแนวนี้คือ Blur และ โอเอซิส และยังรวมถึง Suede, Pulp, Ocean Colour Scene, Supergrass, The Verve และ Radiohead

การพัฒนาและการกำเนิดของบริทป็อปเกิดจาก ปฏิกิริยาต่อต้านวัฒนธรรมและกระแสดนตรีในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980s และ 1990s ตอนต้น เช่นแนว Acid house และฮิปฮอป ซึ่งสองแนวดังกล่าวทำให้เกิดดนตรีที่เน้นจังหวะ (หนักไปทางใช้อิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งทำให้วงการดนตรีอินดี้บริเตนหันมาสนใจ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ดนตรีในอังกฤษที่ใช้เน้นเสียงกีตาร์เป็นหลัก Shoegazing Movement (ร็อกนอกกระแสในไอร์แลนด์ และอังกฤษปลายยุค 80 จึงเกิดโดยได้ต่อต้านกระแสดนตรีพวกปลายยุค 80-90 ตอนต้น โดยทำจากโปรดักส์นาน ๆ มีความเป็นไซคีดีริก (วงแนว Shoegazing เด่น ๆ คือ The Jesus and Mary Chain และ My Bloody Valentine)

แต่กุญแจที่สำคัญจริง ๆ ที่ปลุกบริทป็อปขึ้นมาคือ กรันจ์ (grunge) การบุกอังกฤษโดยวงแนวกรันจ์อย่าง Nirvana, Mudhoney, Pearl Jam, Soundgarden และ Alice in Chains ทำให้วงการดนตรีอังกฤษตื่นตัว

บริทป็อปทั้งหลายต่างได้รับแรงดลใจสำคัญอย่างใหญ่หลวงจาก British Guitar Music ในปี 1960s-1970s (ยุควงอังกฤษบุกอเมริกา) วงที่บริทป็อปทั้งหลายได้รับอิทธิพลคือ The Beatles และ The Rolling Stones (จอมพลใหญ่ในการบุก) แนวดนตรี MOD (The Who, The Kinks และ The Small Faces) และจากดนตรีในยุค 1970-1980 เช่นจากศิลปินแนว Glam (David Bowie และ T. Rex) แนวพังก์ (The Sex Pistols, The Clash, The Jam และ the Buzzcocks)

บรรพบุรุษโดยตรงของกระแสบริทป็อปคือวงอินดี้ในยุค 1980 และ 1990 (ตอนต้น) เช่น The Smiths, Jesus and Mary Chain, และ James แนวหน้า (บริทป็อปรุ่นบุกเบิก) คือ The Stone Roses, The Happy Mondays, และ Inspiral Carpets แต่บางทีวงที่ส่งอิทธิพลโดยตรงต่อบริทป็อปคือ C86 (เล่นแนวอินดี้ป๊อปปี้ กีตาร์)

ในขณะที่อเมริกากระแสกรันจ์ โพสต์-กรันจ์ และฮิปฮอป กำลังแรง อังกฤษก็จุดประกายตอนยุค 1960 (ยุควงอังกฤษบุกอเมริกา) เกิดขึ้นโดยวงอย่าง Suede, Oasis, The Verve, Radiohead, Pulp และ Blur ฯลฯ โดยวงพวกนี้ส่วนมากจะได้รับอิทธิพลจาก British rock underground ในยุค 80 (ก็คือแนว Twee Pop, Shoegazing และ Space Rock) พูดง่าย ๆ ก็คือเหมือนตอนยุค 60 ที่อังกฤษบุกอเมริกานั้นเอง อย่างตอนนั้นมี บีทเทิล และ โรลลิ่งสโตน เปนคู่กัดกัน บริทป็อปก็มี โอเอซิสกับเบลอ มากัดกันเอง เบลอจะมีแนวดนตรีคล้ายวง The Small Faces กับ The Kink ส่วนโอเอซิสเอาความกวนแบบ เดอะ โรลลิ่งสโตน แต่ซาวด์ดนตรีแบบบีทเทิลมา ส่วน The Verve และ Radiohead นี้ได้รับอิทธิพลจาก Elvis Costello, Pink Floyd และ R.E.M.

สรุปบริทป็อปแท้ ๆ ก็เป็นวงช่วงปี 1990 กลาง ๆ วงตอนหลังอาจจะเรียกไม่ใช้บริทป็อปของแท้เท่าไหร่ แถมแท้ ๆ จะเน้นซาวด์กีตาร์ดนตรีจะคล้ายงานของอันเดอร์กราวน์วงอังกฤษยุค80 บวกงานของวงอังกฤษยุค 60

รายชื่อศิลปินแนวบริทป็อป ระดับต้นๆ

Blur
The Boo Radleys
Oasis
Pulp
Radiohead
The Stone Roses
Suede
Supergrass
Ash
Cast
Elastica
Gene
Manic Street Preachers
Menswear
Ocean Colour Scene

บลูส์ (Blues) ซึ่งเป็นดนตรีที่คงรูปแบบเดิม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐอเมริกาเพื่อการเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลงด้วยการร้อง หรือสวดอ้อนวอนในทางศาสนาที่ เป็นท่วงทำนองที่น่าเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์ของการร้องและท่วงทำนองที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่ไม่มีคุณภาพจากความแร้นแค้น และความรู้ในด้านทฤษฎีดนตรีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้มีเสียงหรือคอร์ดความเพี้ยนซึ่งต่อมาก็ได้สร้างความแปลกหู จนเป็นลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ

ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความเจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะอื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์, ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น

ศิลปินบลูส์ที่น่าสนใจมีด้วยกันในหลายยุค เช่น BB.king ("You Know I Love You," "Woke Up This Morning," "Please Love Me,"), Muddy Waters, Buddy Guy, Stevie Ray Vaughan, Eric Clapton, John Lee Hooker,Jimi Hendrix

ที่มาของคำว่า บลูส์ ในภาษาัอังกฤษ blues หมายถึง อาการโศกเศร้า ในประโยคเช่น I feel blues.


บอสซา โนวา (Bossa nova) เป็นชื่อของแนวเพลงที่กำเนิดในประเทศบราซิล ในปี ค.ศ. 1958 โดยแอนโตนิโอ คาร์ลอส โจบิม, วินิเชียส เดอ มอเรียน และจาว กิลแบร์โต โดยมาจากผสมผสานดนตรีแจ๊ซของอาฟริกัน-อเมริกัน กับดนตรีแซมบา ดนตรีพื้นบ้านของบราซิล

เครื่องดนตรีที่ใช้กับดนตรีบอสซา โนวา ประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลัก 2 ชิ้น คือ กีตาร์ และเปียโน โดยมีเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้แก่ออร์แกนไฟฟ้า ดับเบิลเบส กลอง และเครื่องเคาะ กีตาร์ที่ใช้จะต้องเป็นกีตาร์คลาสสิก สายไนลอน และเล่นโดยใช้นิ้ว ไม่ใช้ปิ๊ก

ดนตรีบอสซา โนวา เป็นที่นิยมอยู่ในบราซิล สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ปัจจุบันอาจเรียกสั้นๆว่า บอสซา

ผลงานดนตรีที่ทำให้บอสซา โนวา เป็นที่นิยม คืออัลบั้มประกอบภาพยนตร์ Black Orpheus ((โปรตุเกส) Orfeu Negro - 1959) โดยจาว กิลแบร์โต และเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา จากอัลบั้ม Jazz Samba (1962) ของสแตน เก็ตส์และชาร์ลี เบิร์ด และโด่งดังไปทั่วโลกกับอัลบั้ม Getz/Gilberto (1963) ของสแตน เก็ตส์และจาว กิลแบร์โต โดยเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุด คือเพลง The Girl From Ipanema ((โปรตุเกส) Garota de Ipanema) ซึ่งขับร้องโดย แอสทรูด กิลแบร์โต ภรรยาของจาว เพลงนี้ได้รับรางวัลแกรมมี่ เมื่อปี ค.ศ. 1965

ดนตรีป็อป (pop music) หรือ เพลงป็อป (pop song) เป็นแนวเพลงที่มีลักษณะโมโลดี้ง่ายๆ โครงสร้างเพลงไม่สลับซับซ้อน โดยอาจจะรวมเพลงหลายๆแนวอย่าง ร็อก, ฮิปฮอป, เร้กเก้, แด๊นส์, อาร์แอนด์บี, ฟังค์ หรือแม้แต่โฟล์ก

เพลงป็อปจะถูกแต่งขึ้นเพื่อหวังกลุ่มคนฟังกลุ่มใหญ่โดยได้แรงผลักดันจากค่ายเพลงใหญ่ เริ่มจากในดนตรีประเภท Ragtime จากนั้น Ragtime เริ่มมาทางสวิง จากนั้นก็เป็นดนตรีแจ๊สที่สามารถเต้นรำได้ ดนตรีป็อปสามารถรวมได้ถึงบลูส์ที่มีต้นกำเนิดจากคนผิวดำในอเมริกา และดนตรีคันทรีที่เริ่มปรับจนกลายเป็นแนว Rockabilly (เพลงร็อกแอนด์โรลล์ยุคแรก)

ในยุค 50 เพลงร็อกแอนด์โรลล์ได้รับความนิยม มีศิลปินที่ได้รับความนิยมอย่างเอลวิส เพรสลีย์ ต่อมาในยุค 60 เป็นยุคของทีนไอดอลอย่างวง เดอะ บีทเทิลส์, เดอะ บีชบอยส์, คลิฟ ริชาร์ด, โรลลิ่ง สโตนส์, แซนดี ชอว์ เป็นต้น

ในยุค 70 เป็นยุคของดนตรีดิสโก้ มีศิลปินอย่าง แอบบ้า, บีจีส์ และยังมีดนตรีประเภทคันทรีที่ได้รับความนิยมอย่าง เดอะ อีเกิลส์ หรือดนตรีป็อปที่ได้รับอิทธิพลจากร็อกอย่าง เดอะ คาร์เพ็นเทอร์ส, ร็อด สจ๊วต, แครี ไซม่อน, แฌร์ เป็นต้น

ในยุค 80 มีศิลปินป็อปที่ได้รับความนิยมอย่าง ไมเคิล แจ็คสัน, มาดอนน่า, ทิฟฟานี, เจเน็ท แจ็คสัน‎, ฟิล คอลลินส์, แวม ลักษณะดนตรีจะมีการใส่ดนตรีสังเคราะห์เข้าไป เพลงในยุคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงเต้นรำและยังมีอิทธิพลถึงทางด้านแฟชั่นด้วย

ในยุค 90 เริ่มได้อิทธิพลจากเพลงแนวอาร์แอนด์บี เช่น มารายห์ แครี, เดสทินี ไชลด์, บอยซ์ ทู เม็น, เอ็น โวค, ทีแอลซี ในยุคนี้ยังมีวงบอยแบนด์ที่ได้รับความนิยมอย่าง นิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก, เทค แดท, แบ็คสตรีท บอยส์

ในยุค 2000 มีศิลปินที่ประสบความสำเร็จอย่าง คริสติน่า อากีเลร่า, บียอนเซ่, แบล็ค อายด์ พีส์, จัสติน ทิมเบอร์เลค ส่วนเทรนป็อปอื่นเช่นแนว ป็อป-พังค์ อย่างวง ซิมเปิ้ล แพลน, เอฟริล ลาวีน รวมถึงการเกิดรายการสุดฮิต อเมริกัน ไอดอลที่สร้างศิลปินอย่าง เคลลี่ คลาร์กสัน และ เคลย์ ไอเคน แนวเพลงป็อปและอาร์แอนด์บีเริ่มรวมกัน มีลักษณะเพลงป็อปที่เพิ่มความเป็นอาร์แอนด์บีมากขึ้นอย่าง เนลลี เฟอร์ตาโด, ริฮานนา, จัสติน ทิมเบอร์เลค เป็นต้น

พังค์ร็อก (Punk rock) เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่ง (โดยมากมักเรียกสั้นๆว่า พังค์) มีการเคลื่อนไหวและเป็นที่รู้จักในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 พังค์ร็อกได้พัฒนาระหว่างปี 1974 และ 1977 ในสหรัฐอเมริกา,สหราชอาณาจักร และ ออสเตรเลีย โดยมีวงอย่าง เดอะ ราโมนส์, เซ็กซ์ พิสทอลส์ และ เดอะ แคลช ที่เป็นที่รู้จักในฐานะแนวหน้าของดนตรีประเภทนี้

ในยุคต้นพวกพังค์ร็อก ได้รับอิทธิพลจากร็อกแอนด์โรล ในยุคต่อมามีหลายวงพัฒนาโดยการผสมผสาน แนวดนตรีร็อกเข้ากับฟังค์กี้ และ สกา ลักษณะของสไตล์ดนตรีแบบ พังค์ร็อกมีลักษณะท่วงทำนองที่รุนแรง หยาบกระด้าง ด้วยการขาดทักษะการของการเล่นดนตรี ส่วนการร้องก็จะเป็น "ตระโกน"หรือ "บ่น" และแฝงนัยยะของ "การต่อต้าน " และการยกย่อง "ความเป็นเลิศ"

พังค์ร็อกกลายเป็นกระแสนิยมหลักในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 70 แต่ความโด่งดังในที่อื่นมีในจำกัด จนกระทั่งทศวรรษที่ 80 พังค์ร็อกได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเล็กๆ ทั่วทุกมุมโลก ส่วนมากจะถูกปฏิเสธจากดนตรีกระแสหลัก โดยพังค์ร็อกในรุ่นต่อมาได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีอัลเทอร์เนทีฟและได้รับความนิยมเหมือนตอนที่ได้รับความนิยมในช่วงแรก

พังค์ยุคแรกมีจุดความก้าวร้าว ซึ่งดูไกลจากร็อกในต้นยุคทศวรรษที่ 70 ที่อ่อนไหวและฟังดูรื่นหู ทอมมี ราโมน มือกลองวงเดอะ ราโมนส์ เคยกล่าวไว้ว่า "ในช่วงแรกของการเริ่มต้น วงยุค 60 หลายวง ได้ปฏิรูปและมีความน่าตื่นเต้น แต่โชคไม่ดีที่อยู่ได้ไม่นาน พวกเรารู้ว่าต้องการสิ่งที่ต้องการคือความบริสุทธิ์ และไม่ต้องการ ร็อกแอนด์โรล"

จอห์น โฮล์มสตรอม บรรณาธิการนิตยสาร พังค์ แฟนไซน์ให้ความเห็นกับการเกิดของพังค์ร็อกว่า "พังค์ร็อกเกิดขึ้นเพราะดนตรีร็อกในช่วงนั้นดูน่าเบื่อ อย่าง บิลลี โจเอล ,ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล ที่ถูกเรียกว่าร็อกแอนด์โรล โดยร็อกแอนด์โรลมีความหมายกับหลายๆคนว่า ดนตรีขบถและป่าเถื่อน"

ในคำวิจารณ์ของโรเบิร์ต คริสต์เกาอธิบายไว้ว่า "มันก็คือวัฒนธรรมย่อยอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธการเมือง ความสมบูรณ์แบบ และ นิทานปรัมปรางี่เง่าของพวกฮิปปี้" ในทางตรงกันข้ามแพตติ สมิธเอ่ยในรายการสารคดี 25 ปีของพังค์ว่า "พังค์และฮิปปี้มีจุดร่วมเหมือนกันคือ ต่อต้านร็อกแอนด์โรล ในบางครั้งก็ปฏิเสธไม่เฉพาะร็อกกระแสหลักและวัฒนธรรม" ในปี 1977 เมื่อพังค์ในก้าวสู่กระแสหลักในสหราชอาณาจักร ถูกเรียกว่า "ปีศูนย์" (Year Zero) การหวนสู่ความหลังถูกทิ้งไป แต่ได้รับแนวความคิดแบบไร้จริยธรรมเข้าไป โดยวงเซ็กซ์ พิสทอลส์มีคำขวัญว่า "ไร้อนาคต" (No Future)

วงพังค์มักเลียนแบบโครงสร้างดนตรีที่เปลือยเปล่าและการเรียบเรียงดนตรีของดนตรีแนวการาจร็อก ในช่วงทศวรรรษที่ 60 นิตยสารพังค์ ไซด์เบิร์นส ในปี 1976 ได้ล้อเลียนโดยภาพวาด 3 คอร์ด มีคำอธิบายว่า "นี่คือคอร์ด นี่อีกคอร์ด และนี่คอร์ดที่สาม ตอนนี้ฟอร์มวงได้แล้ว"

เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย กีตารืไฟฟ้า 1 หรือ 2 ตัว ,เบสไฟฟ้า,ชุดกลอง ในช่วงแรกพังค์ร็อกดูสับสน จอห์น โฮล์มสตรอม กล่าวว่า "พังค์คือร็อกแอนด์โรลในสายตาคนที่ไม่รู้เรื่องดนตรีมากนัก แต่รู้สึกได้ถึงความต้องการที่จะปลดปล่อยตัวเองในดนตรี" การร้องของพังค์บางครั้งฟังเหมือนเสียงขึ้นจมูก และบ่อยครั้งที่จะตะโกนแทนที่จะร้อง ความซับซ้อนของกีตาร์บ่งบอกถึงความหลงผิดในตัวเอง

เบสกีตาร์มักจะเป็นพื้นฐานทั่วไปโดยมีส่วนช่วยพยุงเมโลดี้ของเพลง มีมือเบสวงพังค์บางวงอย่าง ไมค์ วัตต์ และ ฌอง-แจ็คส์ เบอร์เนล แห่งวงเดอะ สเตรนเจอร์ส จะเน้นเบสขึ้นมา มือเบสหลายๆวงมักใช้ปิ๊กมากกว่าการใช้นิ้วเนื่องจากความรวดเร็วต่อเนื่องของโน้ต กลองโดยทั่วไปจะหนักและดูแห้ง จะมีการปรับแต่งเพียงเล็กน้อย เพลงพังค์มักมีความยาวระหว่าง 2 ถึง 2 นาทีครึ่ง มีบางเพลงมีความยาวน้อยกว่า 1 นาทีก็มี เพลงพังค์ในช่วงแรกรับอิทธิพลจากร็อกแอนด์โรลคือมีท่อนประสานเสียง อย่างไรก็ตามวงพังค์รุ่นใหม่อาจรวมแนวเพลง โพสต์-พังค์ และ ฮาร์ดคอร์พังค์ จะไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าว ฮาร์ดคอร์พังค์ กลองจะเร็วขึ้น เนื้อเพลงจะกึ่งตะโกน เสียงกีตาร์ฟังดูก้าวร้าว

ภาคเนื้อร้องโดยทั่วไปจะเป็นการพูดกันตรงๆ โดยจะวิจารณ์สังคมการเมือง เช่นเพลง "Career Opportunities" ของวงเดอะ แคลช,"Right to Work" ของวงเชลซี เป็นต้น ยังมีเพลงที่มีเนื้อหาตึงเครียดในลักษณะต่อต้านความรัก พรรณาถึงความสัมพันธ์ของชายหญิงและเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างเพลง "Love Comes in Spurts" ของวง เดอะวอยดอยด์ส

วี. เวลกล่าวว่า "พังค์เป็นนักปฏิวัติวัฒนธรรม เปิดการเผชิญหน้ากับความมือของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม พวกอนุรักษ์นิยม ข้อห้ามทางเพศ ได้ขุดในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนออกมาโดยคนรุ่นใหม่อย่างสมบูรณ์"

รูปแบบการแต่งกายของชางพังค์ พวกเขาใส่ที-เชิร์ต สวมแจ็คเก็ตมอเตอร์ไซค์ กางเกงยีนส์ เป็นการยกย่องอเมริกันกรีซเซอร์ในยุคทศวรรษที่ 50 ในยุคทศวรรษที่ 80 การสักและการเจาะได้รับความนิยมในหมู่นักดนตรีพังค์และแฟนเพลง

เร้กเก้ (Reggae) คือเพลงประเภทพัฒนาในเกาะจาไมกาในล่าสุด1960s เทอมบางครั้งที่ถูกใช้อย่างกว้างขวาง ส่วนมากจะอ้างถึงชนิดของเพลงจาไมกัน , รวมถึงสกา, rocksteady และ Dub ชี้บอกสไตล์ที่ จำเพาะเจาะจง ซึ่งเกิดหลังจากการพัฒนาของ rocksteady ในการนี้, เร้กเก้สามารถแบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ roots เร้กเก้ (ที่เป็นต้นฉบับ เร้กเก้ ) และ dancehall เร้กเก้ ซึ่งเป็นสิ่งซึ่งก่อให้เกิดล่าสุดในปี 1970s

เร้กเก้ ถูกค้นพบบนสไตล์จังหวะ characterized โดยสม่ำเสมอสับบนจังหวะการเต้นหลัง, รู้ว่าเป็น skank จังหวะการเต้นช้ากว่าโดยทั่วไป สิ่งนั่นที่ค้นพบในตัวตน ต้นแบบของ เร้กเก้ ,สกา และ rocksteady

เร้กเก้ กับการเคลื่อนไหว กับ สิ่งซึ่งมีอิทธิพลกับนักดนตรี เร้กเก้ เรื่องที่เด่นจำนวนมากมายใน 1970s และ1980s เพลง เร้กเก้ เกี่ยวกับหัวข้อจำนวนมากมาย, รวมถึงเรื่อง ศรัทธา, ความรัก, เรื่องเพศ และเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมโดยกว้าง

แหล่งกำเนิดของ เร้กเก้ อยู่ในชาวแอฟริกาดั้งเดิม และเพลงเกี่ยวกับทะเลคาริบเบียน จังหวะแห่งสหรัฐอเมริกา และความเศร้าหมอง และ Jamaican ska และrocksteady ใน1963, Coxsone Dodd แ่ห่งสตูดิโอ วัน ถาม Jackie Mittoo ( pianist of Skatalites ) เพื่อบันทึก เสียง และประกอบด้วยเพลงที่เป็นต้นฉบับ Mittoo ได้รับความช่วยเหลือจากมือกลอง Lloyd Knibbs และใส่ จังหวะสกา ดั้งเดิมตีเข้าไปใน เร้กเก้ โดยลดลงจังหวะ ของดนตรีลง

Bob Marley ผู้ซึ่งเล่นบทบาทสำคัญของเพลง เร้กเก้ ระดับโลก, ska, rocksteady, และ nyabinghi. โดยล่าสุด1960s, เร้กเก้ ได้เปิด ในสหราชอาณาจักร โดย สถานีวิทยุ John Peel's radio

คำว่า เร้กเก้ อาจจะใชครั้งแรกในแบบ ของ ska เช่นวง Toots and the Maytals, ในปี 1968 อัลบั้มของเขา ชื่อ Do the Reggay ทฤษฎีอื่นๆคือเทอมที่มาจากคำว่า stเร้กเก้, Jamaican ใช้ภาษาแสลงของโสเภณี, หรือ สิ่งที่เกิดครั้งแรกจาก Regga, ซึ่งเป็นภาษา Bantu จากทะเลสาบ Tanganyika(Lake Tanganyika)

ร็อก (Rock) หรือ ร็อกแอนด์โรล (Rock'n Roll) เป็นดนตรีที่ประกอบด้วย กีตาร์ กีตาร์เบส กลอง เป็นเครื่องดนตรีหลัก รูปแบบดนตรีง่ายๆ เน้นความหนักแน่นในเนื้อหาที่ต้องการสื่อ และความสนุกสนาน คิดค้นขึ้นในค้นศตวรรษที่ 60 โดยเอลวิส เพรสลีย์ โดยการนำเอาการร้องที่ใช้เสียงสูงของเพลงบลูส์ของคนผิวดำ ผสมกับทำนองสนุกสนานของเพลงคันทรีของคนผิวขาว เป็นการผสมผสานของวัฒนธรรมของสองเชื้อชาติ ซึ่งเอลวิส เพลสลีย์ ต่อมาได้รับการยกย่องและเรียกว่าเป็น " ราชาร็อกแอนด์โรล " และเพลงร็อกก็ได้พัฒนาและต่อยอดมาตราบอย่างหลากหลาย มาจนปัจจุบัน ที่แตกแขนงออกเป็นหลายประเภท เช่น เฮฟวี่เมทัล, เดธเมทัล, บริติสร็อก, อัลเทอร์เนทีฟ เป็นต้น

วิวัฒนาการของร็อกและแนวย่อยที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลาต่างๆ

กลางยุค 50
ร็อกแอนด์โรล เช่น เอลวิส เพรสลีย์ ,เจอร์รี ลี ลีวิส เป็นต้น
กลางยุค 50 ถึงต้นยุค 60
British rock ยุค 60
garage rock ยุค 60
Surf music ยุค 60
1963 - 1974
Folk rock
Psychedelic rock
Progressive rock
Soft rock
Hard Rock
Glam Rock
Heavy Metal
กลางถึงปลายยุค 70
Progressive rock
Progressive Metal
Arena Rock
Punk rock
New Wave
Post Punk
ยุค 80s
Glam metal
Instrumental rock
Gothic
Alternative music และ กระแสเพลงอินดี้
ต้นถึงกลางยุค 90 Alternative เข้าสู่กระแสหลัก
Grunge เช่น Nirvana
Modern rock
Britpop เช่น ทราวิส
Indie rock
Stoner rock เช่น Queens of the Stone Age
1994-1999
Pop punk เช่น Simple Plan, Sum41, Blink182
Post-grunge เช่น Foo Fighters, Everclear
Rapcore และ Nu metal เช่น วง Limp Bizkit, Korn, Linkin Park
Hardcore เช่น วง Hatebreed
2000-ปัจจุบัน
Garage rock revival เช่น Jet
Post-punk revival เช่น Good Charlotte
Metalcore เช่น วง Norma Jean
Emo เช่น วง Story Of The Year ,Funeral For a Friend
Screamo เช่น วง Underoath , Saosin, The Used
jackies
jackies
Administrator
Administrator

Male
เธˆเธณเธ™เธงเธ™เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก : 53
อายุ : 41
ที่อยู่ : Illusion's World
Registration date : 04/06/2007

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™ Go down

แนวดนตรีในโลกปัจจุบัน Empty แนวเพลง ต่อๆ

เธ•เธฑเน‰เธ‡เธซเธฑเธงเธ‚เน‰เธญ by jackies Fri Jun 08, 2007 11:40 am

อาร์แอนด์บี (R&B) หรือ ริทึ่ม แอนด์ บลูส์ (Rhythm and Blues) เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยม โดยผสมผสานระหว่างเพลงแนว แจ๊ส กอสเปล และ บลูส์ โดยเริ่มแรกจะเล่นโดยศิลปินแอฟริกัน-อเมริกัน

คำว่า ริทึ่ม แอนด์ บลูส์ ถูกใช้ครั้งแรกในนิตยสารบิลบอร์ดโดย เจอรี่ เว็กซ์เลอร์ (Jerry Wexler) ในปี ค.ศ. 1947 แทนที่คำว่า Race Music ที่เคยถูกใช้มาก่อน

ในปี ค.ศ. 1948 บริษัท RCA Victor ได้เข้ามาทำการตลาดดนตรีคนผิวดำโดย ภายใต้ชื่อ Blues and Rhythm คำนี้ถูกกลับคำ โดยเว็กซ์เลอร์ ค่าย Atlantic Records ซึ่งเป็นผู้นำเพลงแนวอาร์แอนด์บีในยุคแรกๆ

ในปีช่วงยุค 1970 ริทึ่ม แอนด์ บลูส์ ได้ครอบคลุมนิยามกับแนว โซล (Soul)และ ฟังก์ (Funk) ในปัจจุบันนิยมเรียกอาร์แอนด์บี มากกว่าคำว่า ริทึ่ม แอนด์ บลูส์

ริทึ่ม แอนด์ บลูส์ มีที่มาก่อน ร็อก แอนด์ โรลล์ ได้รับอิทธิพลมาจากเพลงแนวแจ๊ส,จัมพ์บลูส์ และ แบล็กกอสเปล มีนักดนตรีแจ๊สหลายคนที่บันทึกเสียงทั้งเพลงแจ๊ส และ ริทึ่ม แอนด์ บลูส์ เช่นวงสวิงแบนด์ของ Jay McShann, Tiny Bradshaw และ Johnny Otis เป็นต้น และโดยส่วนมาก นักดนตรีในสตูดิโอที่ทำเพลงอาร์แอนด์บี จะเป็นนักดนตรีแจ๊ส

ในช่วงยุค 1950 ถือเป็นยุคคลาสสิกอาร์แอนด์บี มีการผสมแนวเพลงเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็น แจ๊ส และ ร็อก แอนด์ โรลล์ เพลงแนวอาร์แอนด์บีถูกพัฒนาไปที่ต่างๆ เช่นในรัฐนิวออร์ลีนส์ มีการใช้เปียโนในเพลง ตัวอย่างเช่นศิลปินที่เป็นที่รู้จักอย่าง แฟท โดมิโน (Fats Domino) ในเพลงติดชาร์ท "Blueberry Hill" และเพลง "Ain't That a Shame" อีกที่ที่มีการพัฒนาของเพลงแนวอาร์แอนด์บีคือ ลุยเซียนา มีศิลปินเช่น Clarence "Frogman" Henry, Frankie Ford, Irma Thomas, The Neville Brothers และ Dr. John เป็นต้น

เพลง ร็อก แอนด์ โรลล์ ในรูปแบบของอาร์แอนด์บี ที่เป็นที่รู้จักเพลงแรกๆ เช่น "Rocket 88" และ "Shake, Rattle and Roll" ที่ขึ้นชาร์ททั้ง ป็อปชาร์ทและอาร์แอนด์บีชาร์ท

ช่วงต้นยุค 1960 เพลงแนวอาร์แอนด์บีมีแนวโน้มมีรูปแบบออกไปทางกอสเปลรวมถึงโซล มีศิลปินเช่น Ray Charles, Sam Cooke, และ James Brown และเริ่มมีศิลปินผิวขาวทำเพลงในแนวนี้ แต่จะเรียกว่า บลู-อายด์ โซล เช่น The Yardbirds, The Rolling Stones, The Pretty Things, The Small Faces, The Animals, The Spencer Davis Group และ The Who

ในช่วงกลางยุค 1970 คนผิวสีทำเพลงในแนวดิสโก้ ถือเป็นปรากฎการณ์ในสังคม เพลงแนวดิสโก้ได้รับความนิยมอย่างมาก พอช่วงยุค 80 เพลงดิสโก้ก็หายไป กลายเป็นเพลงช้าๆ ฟังสบายๆ ที่เรียกว่า quiet storm จนกระทั่งในปัจจุบันอาร์แอนด์บีได้เพิ่มแนวฮิปฮอป และ แร็ปอีก ซึ่งได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน

รายชื่อศิลปินแนวอาร์แอนด์บี ระดับต้นๆ

Babyface
James Brown
Gladys Knight
Aretha Franklin
Fats Domino
Diana Ross
Barry White
Curtis Mayfield
D'Angelo
Earth, Wind & Fire
Marvin Gaye

ฮิป ฮอป (Hip Hop) (อาจเขียนเป็น ฮิป-ฮอป (Hip-hop) หรือ ฮิปฮอป (Hiphop)) มีความหมายถึงในด้านดนตรีแนวฮิปฮอป ที่เป็นที่นิยมสำหรับวันรุ่นอเมริกาและทั่วโลก จนถูกยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีรากฐานการพัฒนามาจากชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และ ชาวละติน โดยในช่วงยุค 70' หลังจากที่ดนตรีดิสโก้ที่พัฒนามาจาก แนวเพลงฟังค์ ในแบบของโมทาวน์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการเปิดแผ่นเพลงในคลับต่างๆ และด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เกิดการสร้าง Loops, Beat ใหม่ๆ ขึ้นมา ดนตรีฮิปฮอป จึงถือกำเนิดขึ้น

คำว่า ฮิปฮอป มักถูกยกเครดิตให้กับ Keith Cowboy แร็ปเปอร์วง Grandmaster Flash & The Furious Five ถึงแม้ว่าในยุคนั้นศิลปินอย่าง LoveBug Starski, Keith Cowboy, และ DJ Hollywood จะถูกเรียกในนามของ "Disco Rap" แต่เครดิตก็มักยกให้กับ Keith Cowboy

ในช่วงยุค 70' เมื่อวัยรุ่นในย่านละแวกใกล้เคียงต้องการจะจัดงานปาร์ตี้ รื่นเริง (Block Party) ดนตรีฮิปฮอปจึงได้รับการแพร่ขยายเป็นที่รู้จัก ซึ่งฮิปฮอปก็ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ว่าเป็นแนวดนตรีชนิดหนึ่งอีกต่อไป แต่ยังได้รับการยกระดับให้เป็น วัฒนธรรมอย่างหนึ่งด้วย โดย วัฒนธรรมฮิปฮอปจะเกิดขึ้นได้โดยต้องมีปัจจัย 4 อย่าง คือ

กราฟฟิตี (Graffiti) เป็นการเพนท์ พ่น กำแพง ความหมายเพื่อการเชื้อเชิญ แขก หรือสาวๆในละแวกนั้นว่า งานปาร์ตี้เริ่มที่ไหนเมื่อไหร่
ดีเจ (DJ) ซึ่งมาจากคำว่า Disc Jockey ทำหน้าที่เป็นผู้เปิดแผ่นเพลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานปาร์ตี้
บี-บอย (B-Boy) - เป็นกลุ่มคนที่มาเต้นในช่วงระหว่างที่ DJ กำลังเซ็ทแผ่นเพลง เพื่อเป็นการคั่นเวลา ซึ่งลักษณะการเต้น เราจะเรียกว่า Break Dance
เอ็มซี (MC) เป็นแร็ปเปอร์ซึ่งหลังจากที่ ดีเจ เซ็ทแผ่นเรียบร้อยแล้ว MC จะทำหน้าที่ดำเนินงาน และงานปาร์ตี้ก็ได้เริ่มขึ้น

เริ่มจากดีเจในสมัยนั้นที่เป็นส่วนในการเล่นดนตรีแนวเบรก-บีท(Break-beat) ซึ่งเป็นที่นิยมในการเต้นรำในสมัยนั้น DJ Kool Herc และ Grandmaster Flash ได้แยกการดีเจออกมาโดยเน้นเพื่อให้เป็นการเต้นรำได้ตลอดทั้งคืน เบรก-บีทนั้นก็พัฒนามาจากเพลงฟังก์ที่มีพวกเครื่องเล่นเพอร์คัชชันเล่นอยู่ด้วย และนี่ก็เป็นการพัฒนาของดีเจ รวมถึงคัตติง (Cutting)ด้วย

การแร็ปนั้น พวก MC ตอนแรกจะพูดเพื่อโปรโมทให้ดีเจในงานปาร์ตี้ต่างๆ แต่เริ่มมีการพัฒนาโดยการใส่เนื้อร้องลงไป โดยเนื้อหาอาจจะเกี่ยวกับชีวิต เรื่องรอบตัว ยาเสพติด เซ็กส์ โดย Melle Mel มักถูกยกเครดิตว่าเป็น MC คนแรก

ปลายยุค 70s ดีเจหลายคนได้ออกแผ่น โดยมีการแร็ปลงจังหวะเพลง เพลงที่ดังๆมีอย่าง "Supperrappin" ของ Grandmaster Flash & The Furious Five ,"The Breaks" ของ Kurtis Blow และ "Rapper's Delight" ของ The Sugar Hill Gang เป็นต้น

จนกระทั่งในปี 1983 ฮิปฮิอปถูกย้ำให้ชัดเจนขึ้นเมื่อ Afrika Bambaataa and the Soulsonic Force ได้ออกแผ่นที่ชื่อว่า "Planet Rock" แทนที่จะเป็นการแร็ปในจังหวะดิสโก้ Bambaataa ได้ใช้เสียงอีเลคโทรนิกแบบใหม่ขึ้นมาแทน โดยเทคโนโลยีซินธิไซเซอร์สมัยนั้น จนกระทั่ง ฮิปฮอปเข้าสู่กระแสหลัก เป็นที่นิยมอย่างมากในยุค 90s ซึ่งในปัจจุบันมีศิลปินแนวฮิปฮอปอยู่จำนวนมาก

รายชื่อศิลปินแนวฮิปฮอป ระดับต้นๆ

Afrika Bambaataa
Rob Base
Beastie Boys
Mary J. Blige
Kurtis Blow
Boogie Down Productions
Busta Rhymes
De La Soul
Eric B. & Rakim
The Fugees
Grandmaster Flash
KRS-One
LL Cool J
Marley Marl
The Notorious B.I.G.
Public Enemy
Run-D.M.C.
TLC

เมโลดิก เดธ เมทัล (Melodic death metal) (หรือ กอเธนเบิร์คเมทัล, เมโลเดธ, สแกนดิเนเวียนเมทัล, และ โพสต์เดธ) คือสาขาย่อยของเดธเมทัล เมโลดิกเดธเมทัลผสมผสานสไตล์ที่นุ่มนวลและเมโลดี้ที่มีจังหวะครึกครื้นของบริทิชเมทัล กับเสียงที่รุนแรงตามแบบฉบับเดธเมทัลและแทรชเมทัล หลังจากนั้นเมโลดิกเดธเมทัลก็มีวิวัฒนาการจากการได้รับอิทธิพลต่างๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ มีการใช้คีย์บอร์ดเป็นเครื่องดนตรีที่เพิ่มขึ้นมานั้นเอง

เมโลดิก เดธ เมทัล มีท่อนริฟกีตาร์แบบเมโลดิก ท่อนโซโล และเสียงอะคูสติกกีต้าร์ มากกว่าเดธเมทัล นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาที่สามารถเข้าถึงได้ และเสียงร้องปรกติสลับกับเสียงร้องคำรามแบบเดธ โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างของเพลงมีความแปลกใหม่มากกว่า โดยมีการใช้แนวเพลงที่หลากหลายตลอดทั้งเพลง วง Death และ Morbid Angel ที่ถูกมองว่าเป็นบิดาอุปถัมป์ของเดธเมทัลบ่อยๆนั้น คือผู้มีอิทธิพลหลักของแนวนี้ เช่นเดียวกับแหล่งกำเนิดอย่างเช่น Dark Tranquillity, At the Gates, In Flames และ Carcass กับงานอัลบัมที่ชื่อว่า Heartwork ในบางครั้งวง Sentenced ก็ถูกยกย่องว่า เป็นผู้ที่สร้างอัลบัมเมโลเดธขึ้นมาเป็นอัลบัมแรกในชื่อ North from Here บางคนยกให้ In Flames เป็นวงที่ทำให้แนวนี้เป็นที่นิยม บางคนถึงกับยกย่องให้เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นแนวนี้ขึ้นมาเลยทีเดียว วงเมโลดิกเดธเมทัลบางวงจากภูมิภาคของสแกนดิเนเวียได้ผสมผสานแนวนี้กับแนวเมทัลอื่นๆ เช่น ไวกิ้งเมทัล (ตัวอย่างเช่น วง Amon Amarth), โฟล์คเมทัล, และซิมโฟนิกเมทัล

เมโลดิกเดธเมทัล กับแบล็คเมทัล

ถึงแม้ว่าจะมาจากภูมิภาคเดียวกับแบล็คเมทัล แต่เมโลดิกเดธเมทัลก็ไม่ค่อยมีเนื้อเพลงที่มีแนวคิดค่านิยมที่เกี่ยวกับซาตานซักเท่าไหร่นัก นอกจากนี้เมโลดิกเดธเมทัลยังไม่ควรให้ถูกสับสนกับเมโลดิกแบล็คเมทัล หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ แบล็คเคนด์เดธเมทัล ซึ่งเป็นสาขาย่อยของแบล็คเมทัล เมโลดิกเดธเมทัลมีแนวเพลงที่เจ้าบทเจ้ากลอนมากกว่า ซึ่งมีความหลากหลายมาก ตั้งแต่เดิมเนื้อหาของเพลงนั้นจะเกี่ยวกับแนวเอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์มากกว่า วิวัฒนาการของเมโลดิกเดธเมทัล ในยุค 1990s ตอนปลาย วงเมโลดิกเดธเมทัลหลายวงเป็นสไตล์ดนตรีนี้โดยการเพิ่มองค์ประกอบของดนตรีขึ้นมา เช่น ท่อนคอรัสและริฟที่มีจังหวะสนุกสนานมากขึ้น มีเสียงร้องแบบใสมากขึ้น และมีการเพิ่มคีย์บอร์ดเป็นเครื่องดนตรีอีก ท่อนริฟแบบเดิมของเมโลดิก เดธเ มทัล เริ่มมีให้เห็นในองค์ประกอบของดนตรีอื่น เช่น ในเมโลดี้และการร้องของอัลเตอร์เนทีฟเมทัล แฟนเก่าๆของแนวนี้ไม่ชอบการวิวัฒนาการนี้ แต่ความนิยมของแนวนี้ก็เพิ่มมากขึ้น

งานกอเธนเบิร์ค

สไตล์กอเธนเบิร์คเป็นส่วนร่วมหนึ่งในเมโลดิก เดธ เมทัลอย่างเห็นได้ชัด ชื่อของมันถูกตั้งขึ้นตามชื่อเมืองที่มันถูกถือกำเนิดขึ้นมา ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าวงอะไรที่ริเริ่มสไตล์กอเธนเบิร์คนี้ หลายคนเชื่อว่าว่าเป็น Ceremonial Oath และ Dark Tranquillity วงที่เริ่มขึ้นระหว่างปลายยุค 1980s และต้นยุค 1990s แต่ที่ยอมรับกันทั่วไปคือ In Flames, At the Gates, and Dark Tranquillity เป็นผู้ที่ทำให้สไตล์นี้เป็นที่นิยม และเป็นวงแรกๆที่เล่นมัน พวกเขายังเป็นวงชื่อดังเพียงหยิบมือที่เล่นแนวนี้ โดยมีวงหน้าใหม่อย่าง Arch Enemy และ The Haunted ที่แตกสาขาย่อยออกมาจาก Carcass และ At the Gates

วงเมโลดิก เดธ เมทัลส่วนใหญ่มาจากภูมิภาคแถวสแกนดิเนเวียและยุโรปตอนเหนือ โดยเฉพาะจากประเทศสวีเดน และประเทศฟินแลนด์ ตัวอย่างของวงจากฟินแลนด์ที่มีชื่อคือ Norther และ Kalmah และวงอย่าง Children of Bodom ที่สไตล์ของพวกเขายังเป็นที่ถกเถียงของแฟนๆอยู่ แต่ในบ่อยครั้งพวกเขาก็ไม่ถูกจัดว่าเป็นเมโลดิก เดธ เมทัล

ในปัจจุบัน
แนวเมโลดิก เดธ เมทัลได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างล้นหลามจนมีผู้ติดตามในทวีปอเมริกาตอนเหนือ โดยเฉพาะในกลุ่มแฟนๆในอเมริกาตอนเหนือที่ชื่นชอบวงสแกนดิเนเวียผู้ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวเพลงเมโลดิกเดธเมทัลจวบจนถึงวันนี้ แนวเพลงนี้ยังมีผู้ติดตามในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลิตดนตรีวงดนตรีเมโลดิก เดธ เมทัลของตัวเองเช่น Blood Stain Child อีกด้วย
jackies
jackies
Administrator
Administrator

Male
เธˆเธณเธ™เธงเธ™เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก : 53
อายุ : 41
ที่อยู่ : Illusion's World
Registration date : 04/06/2007

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™ Go down

แนวดนตรีในโลกปัจจุบัน Empty แนวเพลง ต่อๆ

เธ•เธฑเน‰เธ‡เธซเธฑเธงเธ‚เน‰เธญ by jackies Fri Jun 08, 2007 11:42 am

เจ-ป็อป (อังกฤษ: J-pop / ย่อมาจากคำว่า เจแปนนิส ป็อป) หมายถึงแนวดนตรีของประเทศญี่ปุ่น ที่มีลักษณะดนตรีผสมผสานจากทางตะวันตก ซึ่งรวมถึงดนตรีในลักษณะ ป๊อป ร็อก แดนซ์ ฮิพฮ็อพ และ โซล

เจ-ป๊อป เป็นหนึ่งใน 4 แนวดนตรีที่มีการจำแนกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้แก่ เจ-ป๊อป, เอ็งกะ (ลักษณะคล้ายบัลลาด), ดนตรีคลาสสิค และ ดนตรีต่างประเทศ

เจ-ป็อป เป็นแนวดนตรีที่มีรากฐานมาจากเพลงแจซซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในญี่ปุ่นช่วงโชวะตอนต้น (สมัยราชวงศ์ของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ) แจซเป็นแนวเพลงที่นำเอาเครื่องดนตรีใหม่ ๆ หลายชิ้น ที่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในการแสดงเพลงคลาสสิคและเพลงมาร์ชของทหาร มาแนะนำให้ชาวญี่ปุ่นได้รู้จัก และมาช่วยแต่งแต้มสีสัน “ความสนุก” ให้กับวงการเพลงของญี่ปุ่นให้มากขึ้น เครื่องดนตรีต่าง ๆ เหล่านั้น ได้ถูกนำไปใช้ตามคลับและบาร์ในญี่ปุ่นหลาย ๆ ที่ โดยที่ที่โด่งดังและมีชื่อในเรื่องการแสดงเพลงแจซมากที่สุดก็คือ องงากุ คิซซะ (「音楽喫茶」, Ongaku Kissa, 音楽喫茶?) (แปลว่า คาเฟ่ดนตรี)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การแสดงดนตรีแจซในญี่ปุ่นได้หยุดชะงักลงชั่วคราวเนื่องด้วยการกดดันจากฝ่ายทหารของจักรพรรดิญี่ปุ่น แต่พอสงครามได้สิ้นสุดลงแล้ว แนวดนตรีจากต่างประเทศ ทั้งบูกี-วูกี แมมโบ บลูส์ และคันทรี ก็ต่างตบเท้าทยอยเข้ามาสู่ดินแดนอาทิตย์อุทัยอย่างไม่ขาดสาย โดยผู้ที่นำเข้าดนตรีเหล่านี้ก็คือทหารของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปทำงานในญี่ปุ่นและกลุ่มเครือข่ายตะวันออกไกล

จากการไหลเข้ามาของแนวเพลงอันหลากหลายในช่วงนั้น ได้ทำให้นักดนตรีสากลชาวญี่ปุ่นหลาย ๆ คนถือกำเนิดขึ้นและสร้างผลงานที่โด่งดังออกมาหลายเพลง ตัวอย่างเช่น โตเกียว บูกี-วูกี ของชิซูโกะ คาซางิ (พ.ศ. 2491), เท็นเนซซี วอลทซ์ ของเอริ จิเอมิ (พ.ศ. 2494), โอมัตสึริ แมมโบ ของมิโซระ ฮิบาริ และ โอโมยเดะ โนะ วอลทซ์ ของอิซูมิ ยูกิมูระ เป็นต้น นอกจากนั้น กลุ่มศิลปินและศิลปินแจซชื่อดังจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น เจเอทีพี หรือ หลุยส์ อาร์มสตรอง ก็ยังเคยไปเปิดการแสดงในญี่ปุ่นช่วงนั้นด้วย

ปีที่ถือว่าเป็น "ปีแห่งการเฟื่องฟูของเพลงแจส” (Year of the Jazz Boom) ที่สุดในญี่ปุ่นคือปีพ.ศ. 2495 โดยในปีนั้น เพลงแจซเริ่มที่จะเพิ่มระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคให้สูงขึ้น ส่งผลให้การเล่นเพลงแจซในสมัยนั้นเริ่มยากขึ้นตามไปด้วย นักดนตรีชาวญี่ปุ่นหลายคนจึงต้องหันไปเล่นดนตรีสไตล์คันทรีที่สามารถเรียนรู้และนำไปแสดงได้ง่ายกว่าแทน ทำให้เพลงหลาย ๆ เพลงในช่วงนั้นมีกลิ่นไอของคันทรีเป็นพื้นฐาน

ในปีพ.ศ. 2499 กระแสคลั่งเพลงร็อก แอนด์ โรลในญี่ปุ่นได้เริ่มต้นขึ้น ผู้ที่ปลุกกระแสนี้ขึ้นมาคือกลุ่มวงดนตรีคันทรีที่ชื่อ โคซากะ คาซูยะ แอนด์ เดอะ แวกอน มาสเตอร์ส และเพลง ฮาร์ทเบรก โฮเทล ของเอลวิส เพลสลีย์ จุดสูงสุดของความนิยมร็อก-แอนด์-โรลในญี่ปุ่นอยู่ที่ปีพ.ศ. 2502 โดยในปีนั้นได้มีภาพยนตร์ญี่ปุ่นอยู่เรื่องหนึ่งได้นำเอาวงดนตรีร็อก-แอนด์-โรลหลาย ๆ วงมาร่วมแสดงด้วย ทำให้เกิดเป็นการตอกย้ำกระแสร็อก แอนด์ โรล ในญี่ปุ่นให้อยู่ยงมากขึ้นไปอีก แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อกระแสความคลั่งไคล้เพลงแนวร็อก แอนด์ โรล ในอเมริกาถึงจุดสิ้นสุด กระแสเดียวกันที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นก็เป็นอันต้องยุติลงไปด้วย เนื่องจากว่าวงดนตรีของญี่ปุ่นหลาย ๆ วงนั้นได้รับอิทธิพลมาจากวงดนตรีของอเมริกาค่อนข้างมาก ถ้าหากกระแสดนตรีของอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปในญี่ปุ่นก็จะเปลี่ยนตามทันที

ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้เอง ได้มีนักดนตรีบางคนพยายามจะนำเอาแนวเพลงป็อปดั้งเดิมของญี่ปุ่นมาผสมรวมกับร็อก-แอนด์-โรล โดยผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการกระทำเช่นนี้คนหนึ่งก็คือ คีว ซากาโมโตะ กับเพลงที่ชื่อ อูเอะ โวะ มุยเตะ อารูโก้ (เพลงนี้รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ซูกิยากิ) เพลงนี้เป็นเพลงภาษาญี่ปุ่นเพลงแรกที่เข้าไปอยู่อันดับ 1 ในชาร์ตจัดอันดับเพลงยอดนิยมของสหรัฐอเมริกา (ติดอันดับหนึ่งสี่สัปดาห์ในนิตยสารแคชบ็อกซ์ กับอีกสามสัปดาห์ในนิตยสารบิลบอร์ด) และยังได้รับรางวัล โกลด์ เร็คคอร์ด จากการที่สามารถขายแผ่นเสียงได้หนึ่งล้านแผ่นอีกด้วย

ขณะเดียวกัน ก็มีนักร้องนักดนตรีญี่ปุ่นกลุ่มอื่น ๆ ที่ตัดสินใจหันมาใช้วิธีนำเอาเพลงดัง ๆ จากอเมริกามาแปลเนื้อให้เป็นภาษาญี่ปุ่นและนำมาร้องจนโด่งดัง (วิธีการดังกล่าวนี้ถือเป็นจุดกำเนิดของการโคเวอร์เพลง ซึ่งเป็นอีกลูกเล่นหนึ่งที่วงการเพลงปัจจุบันยังใช้กันอยู่) แต่พอถึงยุคที่ทุก ๆ ครัวเรือนในญี่ปุ่นเริ่มมีโทรทัศน์หรือวิทยุเป็นของตัวเอง ซึ่งทำให้พวกเขาได้มีโอกาสฟังหรือชมภาพการแสดงและเพลงของต้นฉบับจากอเมริกาจริง ๆ ความนิยมที่จะบริโภคผลงานโคเวอร์เช่นนี้ก็เริ่มลดลงเรื่อย ๆ

ต่อมาในช่วงต้นทศวรรษที่ 70 ถึงกลางทศวรรษที่ 80 กระบวนการการสร้างเพลงเริ่มมีความซับซ้อนในด้านการเรียบเรียงและการใช้เครื่องดนตรีมากขึ้น คนส่วนใหญ่จะเรียกเพลงที่เกิดจากกระบวนเช่นนี้ว่า นิว มิวสิก เพลงนิว มิวสิก หลาย ๆ เพลงจะมีเนื้อหาที่สนองความต้องการของสังคมอย่างเรื่องความรักหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างนักร้องญี่ปุ่นแนวนิว มิวสิก ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ได้แก่ ทากูโระ โยชิดะ และ โยซูอิ อิโนอูเอะ

ในช่วงทศวรรษที่ 80 (พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2532) เพลงแนว ซิตี ป็อป ก็เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในญี่ปุ่น เพลงแนวนี้จะเป็นเพลงที่ให้ผู้ฟังได้สัมผัสกับกลิ่นไอบรรยากาศของเมืองใหญ่ ในญี่ปุ่น กรุงโตเกียวถือเป็นเมืองหลักที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดเพลงแนวนี้ขึ้นมาหลายต่อหลายเพลง

ทั้งเพลงแนวนิว มิวสิก และเพลงแนวซิตี ป็อป ต่างก็มีความคล้ายคลึงกัน ไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน เพลงหลาย ๆ เพลงที่ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงนั้นก็มักจะมีทั้งความเป็นนิว มิวสิก และซิตี ป็อบ ผสมอยู่ในตัว ดังนั้น ในเวลาต่อมาจึงได้เกิดชื่อ วาเซ ป็อป (เจแปน-เมด ป็อป / เพลงป็อปที่สร้างโดยญี่ปุ่น) ขึ้น เพื่อมาใช้อธิบายเพลงแนวนิว มิวสิก และซิตี ป็อป รวมกัน

จนกระทั่งในทศวรรษที่ 90 คำว่า เจ-ป็อป ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อที่จะนำมาใช้อธิบายลักษณะเพลงป็อปดัง ๆ หลาย ๆ เพลงในช่วงนั้นแทนคำว่าวาเซ ป็อป

ศิลปินเจ-ป็อบที่มีชื่อในช่วงนั้น ส่วนมากจะเป็นนักร้องที่เป็นผู้หญิง ตัวอย่างเช่น แดนซ์ ควีน (โยโกะ โองิโนเมะ) หรือจิซาโตะ โมริตากะ เป็นต้น ส่วนนักร้องเจ-ป็อปที่เป็นผู้ชายก็มีอยู่เช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ฮิการุ เก็นจิ กลุ่มบอยแบนด์ติดโรลเลอร์สเก็ตที่ตอนนี้สมาชิกในกลุ่มต่างก็แยกย้ายไปมีชื่อเสียงในทางของตัวเองแล้ว และอีกคนหนึ่งก็คือ เอกิจิ ยาซาวะ ร็อกเกอร์หนุ่มที่ผันแนวมาร้องเพลงป็อป และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเมื่อเขาได้เซ็นสัญญากับบริษัทบันทึกเสียงวอรเนอร์ ไพโอเนียร์ ในปีพ.ศ. 2523 (เขาได้ย้ายไปอาศัยอยู่ ณ แถบชายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา และได้สร้างอัลบั้มเพลงที่นี่ไว้ 3 อัลบั้มด้วยกัน ได้แก่ ยากาซาวะ, อิทส์ จัสท์ ร็อก เอ็น’ โรล, และ แฟลช อิน เจแปน อัลบั้มทั้งหมดได้ส่งไปจำหน่ายในหลายประเทศ แต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในด้านการโฆษณานัก)

นักร้องเจ-ป็อปที่น่าจดจำอีกคนหนึ่งก็คือ เซโกะ มัตสึดะ เธอคนนี้เป็นนักร้องหญิงชาวญี่ปุ่นที่โด่งดังอย่างมากในช่วงทศววรษที่ 80 โดยเพลงที่นำความสำเร็จมาให้เธอเพลงหนึ่งคือเพลงภาษาอังกฤษที่เธอร้องเอาไว้ในอัลบั้ม อีเทอนัล (อัลบั้มนี้ออกจำหน่ายเมื่อปีพ.ศ. 2534) และความโด่งดังของเธอยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีกเมื่อหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ของอเมริกาได้ลงข่าวว่าเธอมีความสัมพันธ์กับดอนนี วอห์ลเบิร์ก (สมาชิกกลุ่มนิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก) ที่เคยมาร้องเพลง เดอะ ไรท์ คอมไบเนชัน คู่กับเธอมาก่อนหน้าที่จะมีข่าว

ผลงานเพลงของเซโกะยังเคยครองอันดับ 1 ในชาร์ตเพลงของนักร้องหญิงญี่ปุ่นติดต่อกันอย่างยาวนานที่สุด แต่สถิตนั้นก็ถูกทำลายไปโดยผลงานของอายูมิ ฮามาซากิ

หลังจากผ่านพ้นยุคของเซโกะไปแล้ว นักร้องเจ-ป็อปหลาย ๆ คนก็ได้แจ้งเกิดขึ้นมาในวงการเพลงของญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น นากายามะ มิโฮะ, นากาโมริ อากินะ, โมริตากะ จิซาโตะ และคูโดะ ชิซูกะ เป็นต้น

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 ได้มีการกำเนิดขึ้นของวงร็อกที่ชื่อ จาเงะ แอนด์ อัสกะ ซึ่งถือเป็นวงร็อกระดับตำนานของญี่ปุ่นและเอเชีย และยังครองใจแฟนเพลงได้ถึงปัจจุบัน สมาชิกของวงประกอบไปด้วยนักร้องสองคนได้แก่ จาเงะ (ชูจิ ชิบาตะ) และ เรียว อัสกะ (ชิเงอากิ มิยาซากิ – ปัจจุบันนี้เขาได้กลายมาเป็นนักประพันธ์เพลงชั้นเซียนคนหนึ่งของญี่ปุ่นไปแล้ว) พวกเขาได้ร่วมกันสร้างผลงานเพลงที่ดังแบบถล่มทลายเรื่อยมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 จนมาถึงทศวรรษที่ 90 (พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2542) นอกจากนั้นแล้ว การทัวร์คอนเสิร์ต เอเชียน ทัวร์ II / มิซชัน อิมพอสซิเบิล ของพวกเขาก็ยังเป็นการทัวร์คอนเสิร์ตรายการใหญ่ที่สุดของนักร้องญี่ปุ่นเท่าที่เคยมีมาอีกด้วย (คอนเสิร์ตครั้งนั้นเปิดแสดงทั้งหมด 61 รอบใน 4 แห่งด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยทุกรอบนั้น บัตรจะขายหมดตั้งแต่วันแรกที่เปิดจำหน่ายเสมอ)

แต่ต่อมา ในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 90 กระแสความนิยมแนวเพลงก็เริ่มเปลี่ยนไปจากร็อกกลายมาเป็นป็อปแดนซ์ จึงส่งผลให้วงร็อกแบบจาเงะ แอนด์ อัสกะ เป็นอันต้องตกรุ่นไปในที่สุด

ทศวรรษที่ 90 ถือเป็นช่วงเวลาที่วงการเพลงญี่ปุ่นได้ผลิตนักร้องเจ-ป็อปออกมาเป็นจำนวนมาก โดยในรอบสิบปีนี้ แต่ละปีจะมีศิลปินหรือกลุ่มศิลปินเจ-ป็อปต่าง ๆ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมามีชื่อเสียงและครองใจตลาดใหญ่เอาไว้ เริ่มตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2533 ถึงพ.ศ. 2536 ศิลปินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตอนนั้นก็คือ ซาร์ด, Wands, Deen, บีซ และ เซาวเธอร์น ออล สตาร์ส ต่อจากนั้นในปีพ.ศ. 2537 ถึงพ.ศ. 2540 ผู้ที่ครองตลาดเจ-ป็อปกลุ่มต่อมาก็คือศิลปินในตระกูล ทีเค (เท็ตสึยะ โคมูโระ), นามิเอะ อามูโระ, แม็กซ์ (เดอะ ซูเปอร์ มังกีส์) และสปีด นอกจากนั้นในช่วงปลายของยุคนี้ มอร์นิงมูซูเมะซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มนักร้องหญิงเจ-ป็อปที่โด่งดังมากในปัจจุบันก็เพิ่งจะเริ่มก่อตั้งกลุ่มครั้งแรกในปีพ.ศ. 2540

(กลุ่มมอร์นิงมูซูเมะได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในช่วงปลายของยุคนี้ และยังคงสานต่อความโด่งดังของกลุ่มเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันด้วยการค้นสมาชิกใหม่ ๆ เข้ามาหมุนเวียนในกลุ่มตลอดเกือบทุกปี และยังได้นำเอารูปแบบ “การแตกกลุ่มนักร้องย่อย” จากอนยังโกะ คลับ กลุ่มนักร้องหญิงที่โด่งดังในช่วงทศวรรษที่ 80 มาใช้ด้วย / ทั้งกลุ่มมอร์นิงมูซูเมะและสปีดต่างก็สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ เนื่องจากผลงานของพวกเธอสามารถขายได้เกินล้านก็อปปี้ และนอกจากนั้นทั้งสองกลุ่มนี้ยังมีแนวเพลงแบบป็อป-เทคโนที่คล้ายกันอีกด้วย)

ต่อมาในปีพ.ศ. 2541 อันดับที่ 1 ของชาร์ตเพลงเจ-ป็อปก็เปลี่ยนมือมาเป็นของวิชวล เค และชัซนะ และในปีพ.ศ. 2542 ก็เป็นการปิดท้ายยุค 90 ด้วยความนิยมในตัวนักร้องที่เป็นผู้หญิง อย่างอูทาดะ ฮิคารุ หรืออายูมิ ฮามาซากิ

โดยเฉพาะอูทาดะ เธอคนนี้เป็นทั้งนักร้องและนักประพันธ์เพลงสาวที่ทรงอิทธิพลของวงการเพลงญี่ปุ่นผู้หนึ่ง เธอคือผู้ที่นำเอากระแสอาร์&บีเข้ามาสู่เจ-ป็อปผ่านทางเพลงซิงเกิลแรกของเธอที่ชื่อ ออโตเมติค / ทาม วิล เทล นอกจากนั้นแล้วผลงานอัลบั้ม เฟิรสท์ เลิฟ ซึ่งเป็นอัลบั้มแรกของเธอ ก็สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 9,500,000 ก็อปปี้ ซึ่งถือเป็นสถิติของอัลบั้มเพลงที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาลของญี่ปุ่น และเป็นยอดขายที่ไม่เคยมีผลงานอัลบั้มแรกของศิลปินญี่ปุ่นคนใดเคยทำได้สูงเท่านี้มาก่อนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเพลงอาร์&บีของอูทาดะจะถูกหูผู้จำนวนมหาศาล แต่แนวเพลงกระแสหลักที่คนส่วนใหญ่ยังนิยมกันอยู่ในขณะนั้นก็ยังคงเป็นเพลงป็อปเช่นเดิม ทำให้เกิดศิลปินแนวป็อปคนอื่น ๆ อย่าง BoA, มาอิ คุรากิ และอามิ ซูซูกิ ขึ้นมาประดับวงการเรื่อยมา

ส่วนศิลปินที่ดูเหมือนจะโด่งดังและมีชื่อเสียงเกือบตลอดทั้งทศวรรษนั้นเลย ก็คือ SMAP ศิลปินกลุ่มนี้เป็นกลุ่มบอยแบนด์ที่นำเอาเพลงของตัวเองและการโชว์ พรสวรรค์ ผ่านทางโทรทัศน์มารวมเข้าไว้ด้วยกัน (ในช่วงปีหลัง ๆ ของทศวรรษนี้ คิมูระ ทากูยะ หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม ได้กลายมาเป็นนักแสดงที่เป็นที่นิยมไป โดยจะใช้ชื่อ คิมูตากุ เป็นชื่อเรียกแทนตัวเขาในวงการการแสดง)

เมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่ 2000 (พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2552) โดยเฉพาะช่วงกลางทศวรรษ แนวเพลงอาร์&บีและฮิพฮ็อพต่างก็เข้ามามีอิทธิพลต่อวงการเพลงของญี่ปุ่นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เนื้อหาของเพลงที่สร้างออกมาในช่วงนี้ก็เริ่มที่จะประเดียดไปในทางล่อแหลม ลามกอนาจาร และยุยงในเรื่องที่ไม่ดีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ศิลปินหลาย ๆ คนที่เคยร้องแต่เพลงที่มีเนื้อหาพื้น ๆ ธรรมดา ต้องปรับมาร้องเพลงที่มีเนื้อหาที่กล้าและหยาบกร้านเช่นนี้กันเกือบหมด

ในขณะเดียวกัน เจ-ป็อปบางส่วนยังได้รับอิทธิพลจากแนวเพลงอินดี้ด้วย เช่น ผลงานของโคอิโกะ นักร้องหญิงแนวป็อป/อาร์&บีจากค่ายเพลงอินดี้ในเมืองมิยาซากิ เป็นต้น

ชาร์ตอันดับเพลงเจ-ป็อปในช่วงนี้ก็ถูกปกคลุมไว้ด้วยรายชื่อของนักร้องชายทั้งเดี่ยวและกลุ่มเป็นส่วนใหญ่ ส่วนนักร้องที่เป็นผู้หญิงนั้นก็เริ่มเสื่อมความนิยมไปตั้งแต่สิ้นสุดทศวรรษที่ 90 แต่อย่างไรก็ตาม นักร้องหญิงอย่างอายูมิ ฮามาซากิ, คูมิ โคดะ, อูทาดะ ฮิคารุ, ไอ อตสึกะ, มิกะ นากาชิมะ และ BoA ก็ยังคงเป็นอันดับหนึ่งในชาร์ตของนักร้องหญิงอยู่ดี


จุดกำเนิดของศิลปินเจ-ป็อป
ในประเทศญี่ปุ่น การที่จะกลายเป็นศิลปินแนวเจ-ป็อปที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงได้นั้น ส่วนใหญ่แล้วมีอยู่สองหนทางด้วยกัน หนทางแรกคือ เริ่มต้นด้วยการเข้าไปสมัครคัดเลือกเป็นนักแสดงหรือนักร้องในบทบาทรองเสียก่อน อย่างเช่นร้องเพลงประกอบโฆษณา หรือเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณา เป็นต้น แล้วค่อยขยับฝีมือไปแสดงหรือร้องเพลงในงานที่ใหญ่กว่าเดิม เช่น แสดงละครโทรทัศน์หรือร้องเพลงประกอบละคร เป็นต้น ส่วนหนทางที่สองคือ เข้าไปร่วมประกวดบนเวทีที่เปิดคัดเลือกนักร้องสมัครเล่นให้เข้ามาอยู่ในวงการ วิธีนี้ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมมาแล้วหลายตัวอย่าง อย่างเช่นมอร์นิงมูซูเมะ กลุ่มนักร้องหญิงที่ประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ สมาชิกทุกคนที่ทั้งเป็นและเคยเป็น ต่างก็ต้องผ่านการประกวดบนเวทีเช่นนี้มาแล้ว

ผลที่มีต่อวัฒนธรรมสมัยนิยม
เจ-ป็อปเป็นแนวเพลงที่มีการบูรณาการให้เข้ากับวัฒนธรรมสมัยนิยมของญี่ปุ่นทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอะนิเมะ ร้านค้า โฆษณา ภาพยนตร์ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ และวีดีโอเกม

ในการ์ตูนอะนิเมะและรายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่เป็นละคร เพลงประกอบไตเติ้ลทั้งเปิดและปิดของรายการเหล่านี้เกือบทุกเรื่องก็เป็นเพลงเจ-ป็อปทั้งสิ้น โดยในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี อะนิเมะและละครแต่ละเรื่องจะมีการเปลี่ยนเพลงประกอบเหล่านี้ประมาณสี่ครั้งด้วยกัน ทำให้เพลงประกอบทั้งหมดในหนึ่งเรื่องหรือหนึ่งฤดูกาลเฉลี่ยแล้วมีประมาณ 8 เพลง และถ้าหากเปรียบเทียบเรื่องจำนวนเพลงประกอบกับของละครซีรี่ส์อเมริกันที่ออกฉายมาอย่างยาวนานที่สุดเรื่อง บัฟฟี เดอะ แวมไพร์ สเลเยอร์ ซึ่งมีทั้งหมดเจ็ดฤดูกาลตั้งแต่พ.ศ. 2540 ถึงพ.ศ. 2546 เพลงประกอบรายการของญี่ปุ่นแต่ละเรื่องก็ยังมีจำนวนมากกว่า โดยในเรื่องบัฟฟีฯนั้นมีเพลงประกอบทั้งหมด 30 เพลง แต่ในอะนิเมะญี่ปุ่นหนึ่งเรื่องที่ออกฉายด้วยจำนวนเวลาเดียวกัน กลับมีเพลงประกอบเต็ม ๆ ทั้งหมดถึง 56 เพลงและอย่างน้อยจะต้องมีเพลงซิงเกิลของเรื่องอีก 1 เพลงด้วย

นอกจากอะนิเมะและรายการโทรทัศน์แล้ว แม้กระทั่งรายการข่าวของญี่ปุ่นบางรายการ ก็ยังนำเอาเพลงเจ-ป็อปมาเปิดประกอบในเครดิตช่วงท้ายเหมือนกัน

ส่วนในวงการวีดีโอเกม เพลงเจ-ป็อปก็ยังได้เข้าไปมีส่วนเป็นเพลงประกอบด้วย อย่างในเกมขายดีของค่ายสแควร์ที่ชื่อ คิงดอม ฮาร์ทส ทั้งภาคหนึ่งและสอง ก็ได้เพลงของอูทาดะ ฮิคารุ มาใช้เป็นเพลงประกอบ และนอกจากนั้น เพลง อีซีย์ บรีซีย์ ของอูทาดะเองก็ยังนำไปใช้โปรโมทเครื่องเกมพกพาอย่างนินเท็นโด ดีเอส ด้วย

อายุในวงการเพลงของศิลปินเจ-ป็อป
ผลงานของศิลปินเจ-ป็อปคนหนึ่ง ๆ ส่วนมากจะมีอัลบั้มเพียงหนึ่งชุดและเพลงซิงเกิลอีกจำนวนหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นมาพวกเขาก็จะหมดชื่อเสียงและหายเข้ากลีบเมฆไป ซึ่งก็เป็นเรื่องยากอยู่เช่นกันที่ศิลปินเจ-ป็อปจะมีชีวิตอยู่ในวงการเพลงได้มากกว่านี้ เพราะฉะนั้นถ้าหากศิลปินเจ-ป็อปคนไหนหรือกลุ่มใดสามารถคงความนิยมและดำรงตนเองอยู่เป็นเวลาสิบปีขึ้นไปได้ ก็ถือว่าเป็นศิลปินที่ยอดเยี่ยมมาก

ตัวอย่างของศิลปินเจ-ป็อปที่ยังคงสร้างผลงานเพลงออกมาได้เกิน 15 ปีก็ได้แก่ นกโกะ, เซโกะ มัตสึดะ, จิซาโตะ โมริตากะ และยาซาวะ เอกิจิ ส่วนที่เป็นนักร้องกลุ่มก็ได้แก่ ดรีมส์ คัม ทรู, จาเงะ & อัซกะ, บีซ, เซาว์เธิน ออล สตาร์ส, เดอะ พิลโลว์ส, สพิทซ์ และทิวบ์


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
jackies
jackies
Administrator
Administrator

Male
เธˆเธณเธ™เธงเธ™เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก : 53
อายุ : 41
ที่อยู่ : Illusion's World
Registration date : 04/06/2007

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™ Go down

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™


 
Permissions in this forum:
เธ„เธธเธ“เน„เธกเนˆเธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เธžเธดเธกเธžเนŒเธ•เธญเธš